กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร บริเวณรอบๆพุทธมณฑล


กฎกระทรวง
กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด
หรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
.. ๒๕๔๙
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ () แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒และมาตรา ๘ () และ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) .. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (.. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
บริเวณที่ ๑ หมายความว่า พื้นที่ในบริเวณรอบนอกแนวเขตที่ดินของพุทธมณฑลในระยะ๓๐๐ เมตร ยกเว้นพื้นที่บริเวณที่ ๓ และบริเวณที่ ๔
บริเวณที่ ๒ หมายความว่า พื้นที่ในบริเวณรอบนอกแนวเขตบริเวณที่ ๑ ในระยะ ๗๐๐ เมตรยกเว้นพื้นที่บริเวณที่ ๓ และบริเวณที่ ๔
บริเวณที่ ๓ หมายความว่า พื้นที่ในบริเวณที่วัดจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนอุทยานออกไปข้างละ ๑๕ เมตร โดยเริ่มจากเขตทางของถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ฟากตะวันออก ไปทางทิศตะวันออก จนจดแนวเขตบริเวณที่ ๒
บริเวณที่ ๔ หมายความว่า พื้นที่ในบริเวณที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๓ ออกไปอีกข้างละ๓๕ เมตร ตลอดแนวเขตบริเวณที่ ๓ ทั้งนี้ ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๓ ให้กำหนดพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล ตำบลบางเตย ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และแขวงศาลาธรรมสพน์ แขวงทวีวัฒนาเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ภายในบริเวณแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารชนิดและประเภท ดังต่อไปนี้
() ภายในบริเวณที่ ๑ ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้
() ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถวและบ้านแฝด
() ตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
() โรงมหรสพ
() โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
() สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
() สุสานหรือฌาปนสถานตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน
() โรงซ่อม สร้าง หรือบริการยวดยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ทุกชนิด
() อาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน๒๐ ตารางเมตร
() อาคารที่มีความสูงเกิน ๑๒ เมตร
(๑๐) หอถังน้ำที่มีความสูงเกิน ๑๕ เมตร
(๑๑) คลังสินค้าที่มีพื้นที่เกิน ๒๐๐ ตารางเมตร
(๑๒) อาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
(๑๓) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
(๑๔) สถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
(๑๕) สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซ และสถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวการวัดความสูงให้วัดจากระดับพื้นดินถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร
() ภายในบริเวณที่ ๒ ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้() อาคารตาม () () () (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) () อาคารที่มีความสูงเกิน ๑๘ เมตร การวัดความสูงให้วัดจากระดับพื้นดินถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร
() ภายในบริเวณที่ ๓ ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคารอื่นใด เว้นแต่
() อาคารอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีความสูงไม่เกิน ๑๐ เมตร และมีระยะถอยร่นแนวอาคารจากเขตถนนอุทยานไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
() รั้วโปร่งที่มีความสูงไม่เกิน ๒ เมตร แต่ถ้าจะมีส่วนทึบให้มีเฉพาะด้านล่าง สูงไม่เกิน๑ เมตรการวัดความสูงให้วัดจากระดับทางเท้าของถนนอุทยานถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
() ภายในบริเวณที่ ๔ ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้
() อาคารอยู่อาศัย อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด เว้นแต่อาคารอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและอาคารที่ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะของผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
() อาคารพาณิชย์ที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน ๑๐๐ ตารางเมตร
() ห้องแถวหรือตึกแถว
() อาคารที่มีความสูงเกิน ๑๐ เมตร
() หอถังน้ำที่มีความสูงเกิน u3665 .๐ เมตร
() อาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
() อาคารที่ใช้ในการประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
() โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
() โรงซ่อม สร้าง หรือบริการยวดยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ทุกชนิด
(๑๐) ภัตตาคารหรือร้านจำหน่ายอาหาร เว้นแต่ภัตตาคารหรือร้านจำหน่ายอาหารที่มีพื้นที่สำหรับตั้งโต๊ะอาหารทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่เกิน ๑๐๐ ตารางเมตร และไม่มีการจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโก้เธค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) สถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
(๑๒) สถานที่บรรจุก๊าซ สถานที่เก็บก๊าซ และสถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(๑๓) อาคารเก็บสินค้า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีลักษณะในทำนองเดียวกันที่ใช้เป็นที่เก็บ พัก หรือขนถ่ายสินค้าหรือสิ่งของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
(๑๔) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(๑๕) โรงมหรสพ
(๑๖) ตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
(๑๗) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
(๑๘) สถานีขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(๑๙) อาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน ๒๐ ตารางเมตร
(๒๐) สุสานหรือฌาปนสถานตามกฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน
(๒๑) เพิงหรือแผงลอย
(๒๒) ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายทุกชนิด
(๒๓) อาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการสวนสนุก หรือจัดให้มีการเล่นสเก็ต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบหรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๒๔) รั้วที่มีความสูงเกิน ๒ เมตร
(๒๕) รั้วทึบ เว้นแต่รั้วที่มีส่วนทึบเฉพาะด้านล่างสูงไม่เกิน ๑ เมตร การวัดความสูงให้วัดจากระดับทางเท้าของถนนอุทยานถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
ข้อ ๔ อาคารที่ก่อสร้างภายในบริเวณที่ ๓ และบริเวณที่ ๔ ต้องมีระยะห่างระหว่างอาคารไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และห่างจากเขตที่ดินผู้อื่นไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และต้องเป็นอาคารที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นหลังคาทu3619 .งจั่ว ทรงปั้นหยา หรือทรงสถาปัตยกรรมไทย สีหลังคาให้ใช้สีในกลุ่มสีส้มอิฐหรือส้มกระเบื้องดินเผา สีแดงอิฐ หรือสีน้ำตาล
ข้อ ๕ ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ ๓ ห้ามบุคคลใดดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๓
ข้อ ๖ กฎกระทรวงนี้มิให้ใช้บังคับแก่การก่อสร้าง หรือดัดแปลง เขื่อน สะพาน อุโมงค์ทางหรือท่อระบายน้ำ
ข้อ ๗ อาคารที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ ๓ ก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่ห้ามดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๓
ข้อ ๘ อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้นก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ไม่แล้วเสร็จ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาตหรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อกฎกระทรวงนี้ไม่ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.. ๒๕๔๙
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

            ข้อ ๑. เงินได้จากการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้  ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                        ๑.๑ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยาหรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท   ตลอดปีภาษีนั้น
                        ๑.๒ เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตร  โดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
                        ๑.๓ เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะที่ดิน  ที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
               ข้อ ๒. กรณีบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือกองมรดกที่ยังมิได้  แบ่งเป็นผู้ขายหรือผู้โอน จะต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ในการเรียกเก็บ  ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังต่อไปนี้
                        ๒.๑ สำหรับการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ ๕๐ ของเงินได้ เหลือเท่าใด ถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหาร ด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ในกรณีการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ  ให้คำนวณภาษี ณ ที่จ่าย ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่งเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ในส่วนที่เกิน  ๒๐๐,๐๐๐  บาท  ตลอดปีภาษีนั้น  ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ไต่สวนแล้ว
                        ๒.๒ สำหรับการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก ๒.๑ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามอัตราที่กำหนดในข้อ ๔ เหลือเท่าใดถือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วหารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ได้เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
                                  การหักภาษีตาม ๒.๑ และ ๒.๒ กรณีขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก  หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไร เมื่อคำนวณภาษีแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๒๐   ของราคาขาย
                                  คำว่า "จำนวนปีที่ถือครอง" ใน ๒.๑ หรือ ๒.๒ หมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกินสิบปีให้นับเพียงสิบปี เศษของปีให้นับเป็นหนึ่งปี
               ข้อ ๓. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ขายหรือผู้โอน ให้หักและหรือนำส่งภาษีเงินได้  ในอัตราร้อยละ ๑ ของราคาขาย (ทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม) กับราคาประเมินทุนทรัพย์  ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน จำนวนใดสูงกว่าให้ถือจำนวนนั้นเป็นราคาขาย
                ข้อ ๔. การหักค่าใช้จ่ายตาม ๒.๒ ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังต่อไปนี้


   จำนวนปีที่ถือครอง
ร้อยละของเงินได้
๑ ปี
๙๒
๒ ปี
๘๔
๓ ปี
๗๗
๔ ปี
๗๑
๕ ปี
๖๕
๖ ปี
๖๐
๗ ปี
๕๕
๘ ปีขึ้นไป
๕๐
ที่มา กรมที่ดิน

การขออนุญาตสร้างทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงแผ่นดิน

 ลักษณะและตำแหน่งทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงสำหรับอาคารทั่วไป
·       ทางเชื่อมใกล้บริเวณทางแยก
(1) ห้ามมิให้มีทางเชื่อมในช่วงช่องทางเลี้ยว (Turning Roadway) ในทางแยกและตามแนวการมองเห็น (Line of sight) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแบบทางแยกนั้น
 (2) สันขอบทางหรือไหล่ทางเชื่อมด้านใกล้ทางแยก ต้องห่างจากจุดตัดของเขตทางหลวง หรือจุดตัด ระหว่างแนวครอบครองที่ใกล้ทางแยกกับเขตทางหลวง สำหรับทางในเมืองไม่น้อยกว่า 30 เมตร และทางนอกเมืองไม่น้อยกว่า 50 เมตร
 (3) บริเวณทางแยกต่างระดับหรือชุมทางต่างระดับ จะพิจารณากำหนดให้เป็นแห่งๆ ไป

·       ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้สะพาน
(1) สะพานราบ (ช่วงทางหลวงที่เข้าหาสะพานที่มีความลาดชันระหว่าง 0 – 3 %)
      - ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
       - ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 30 เมตร
 (2) สะพานโค้งตั้ง ที่มีความลาดชัน 3 – 6 % จุดทางเชื่อมต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งตั้งและจุดปลายโค้งตั้ง ดังนี้
          - ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและ ปลายโค้งตั้งไม่น้อยกว่า 20 เมตร
          - ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและปลายโค้ง ตั้งไม่น้อยกว่า 40 เมตร
·       ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้ทางรถไฟ ให้ขอบทางเชื่อมด้านใกล้ทางรถไฟห่างจากรางรถไฟไม่น้อยกว่า 30 เมตร
·       ทางเชื่อมที่อยู่ในโค้งราบ  จะต้องมีระยะการมองเห็นที่เพียงพอ และสามารถหยุดรถได้ทัน ห้ามมิให้ทางเชื่อม บริเวณโค้งราบที่มีรัศมีน้อยกว่า 100 เมตร


รายละเอียดการวางท่อระบายน้ำ
(1) ขนาดและประเภทของอาคารระบายน้ำจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละสายทาง
 (2) ในกรณีที่มีคูน้ำอยู่เดิมให้พิจารณาขนาดของอาคารระบายน้ำ โดยให้ช่องเปิดของอาคารระบายน้ำ กว้างไม่น้อยกว่า 3/4 ของความกว้างของคูน้ำนั้น และจะต้องสูงกว่าระดับน้ำสูงสุด โดยให้ส่วนของอาคารระบายน้ำสูงกว่า ระดับน้ำสูงสุด
  (3) โดยทั่วไปให้ใช้ท่อ คสล. อย่างน้อย 1 – ? 0.60 เมตร
   (4) ในเขต กทม. และปริมณฑล ให้ใช้ท่อขนาด 2 - ? 1.00 เมตร หรือท่อ Box culvert หากร่องน้ำ ไม่กว้างพอให้ใช้ขนาด 1 - ? 1.20 เมตร

                       2.1.6 ลักษณะผิวจราจรของทางเชื่อมที่ขออนุญาต จะต้องทำผิวทางอย่างน้อยให้เป็นลักษณะเดียวกับทางหลวง บริเวณนั้น ให้มีความยาวอย่างน้อยถึงเขตทางหลวง กรณีผิวจราจรทางเชื่อมเป็นคอนกรีตแต่ผิวทางหลวงเป็น ชนิดลาดยาง ให้สร้างทางเชื่อมผิวคอนกรีตบรรจบทางหลวงที่ขอบไหล่ทาง และปรับปรุงไหล่ทางลาดยางให้มีความ แข็งแรงเท่าทางจราจร
                             (1) ความกว้างของผิวจราจรทางเชื่อมจะต้องไม่กว้างกว่าผิวจราจรทางหลวงบริเวณนั้น กรณีผู้ขออนุญาต จะปรับปรุงขยายทางหลวงที่บริเวณทางเชื่อมด้วย เช่น สร้างช่องจราจรชะลอความเร็วและเร่งความเร็วให้ความกว้าง ของผิวจราจรไม่เกิน 7.00 เมตรต่อทิศทาง

หลักเกณฑ์และข้อกำหนดเงื่อนไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง

            1. การปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวงทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการปลูกสร้างอาคาร ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 49
               1.1 อาคารพักอาศัย ตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ที่ไม่เกิน 4 ชั้น อาคารขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป แนวกันสาดหรือส่วนที่ยื่นนอกสุดของอาคาร ต้องห่างจากเขตทางหลวงไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร และต้องก่อสร้างเป็นโครงสร้างถนน
               1.2 อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร อาคารสำนักงาน โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา สถานพยาบาล สถานศึกษา ตลาดหรือกิจการอื่น ๆ ที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากๆ แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคารต้องห่างจากเขตทางหลวงอย่างน้อย 6.00 เมตร เพื่อสร้างเป็นถนนและจะต้องมีพื้นที่จอดรถในที่ดินของผู้ขอเพียงพอตามหลักเกณฑ์ของกรมทางหลวง และต้องรับผิดชอบในการป้องกันแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยของผู้ใช้ทางหลวง ดังต่อไปนี้แล้วแต่กรณี เช่น
                     1.2.1 สร้างสะพานลอยคนเดินข้าม
                     1.2.2 ขยายช่องจราจรสำหรับการรอเลี้ยวเข้าหรือออกจากพื้นที่ของโครงการ
                     1.2.3 จัดสร้างที่หยุดรถประจำทางพร้อมศาลาที่พัก
                     1.2.4 ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง
                     1.2.5 ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง เครื่องหมายนำทาง
                     1.2.6 ขยายเขตทางหลวง
                     1.2.7 งานอื่น ๆ ที่จำเป็น
                     1.2.8 และในกรณีที่จะปล่อยน้ำลงสู่เขตทางหลวงจะต้องเป็นน้ำที่ผ่านการบำบัดไม่มีพิษ หรือเน่าเหม็น หรือมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม เจ้าของโครงการฯต้องก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
           2. สำหรับริมเขตทางหลวงที่มีพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ในที่ดินริมเขตทางหลวงตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 49
               2.1 อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดเล็กทั่วไป แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคาร ต้องห่างจากเขตทางหลวง 6.00 เมตร อาคาร สถานีบริการน้ำมัน - เชื้อเพลิง หรือก๊าซ แท่นจำหน่าย ห่างจากเขตทางหลวง 6.00 เมตร
               2.2 อาคารขนาดใหญ่ตามข้อ 1.2 แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคารต้องห่างจากเขตทางหลวง
สำหรับอาคารตึกแถวเว้นระยะ 6.00 เมตร สำหรับโรงงาน - อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน อาคารจอดพักยานพาหนะ ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ฯลฯ เว้นระยะ 10.00 เมตร สำหรับสนามกีฬา สถานศึกษา ตลาด งานออกร้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากเว้นระยะ 40.00 เมตร และต้องรับผิดชอบในการป้องกันแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยตามกฎเกณฑ์ของกรมทางหลวงแล้วแต่กรณี ตามข้อ 1.2.1 - 1.2.8
               2.3 ระยะเว้นที่ว่างด้านหน้าต้องก่อสร้างเป็นถนนมีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร หรือ 10.00 เมตร แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ระยะเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารดังกล่าวข้างต้นจะต้องไม่น้อยกว่าบทบัญญัติของท้องถิ่น หรือหลักเกณฑ์ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ

ขั้นตอนในการชำระภาษีบำรุงท้องที่

1. การยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน กรณีผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน
     1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภบท.5) พร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องใช้ต่อเจ้าหน้าที่พนักงานประเมินภายในเดือนมกราคมของปีที่มีการประเมินราคาปานกลางของที่ดิน
     2) เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบและคำนวณค่าภาษีแล้วแจ้งการประเมิน (ภบท.9หรือ ภบท.10) ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินเท่าใดภายในเดือนมีนาคม
     3)ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี เว้นแต่กรณีได้รับใบแจ้งการประเมินหลังเดือนมีนาคม ต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2. การยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน กรณีเป็นเจ้าของที่ดินรายใหม่หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป
     1) เจ้าของที่ดินที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินหรือเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินขึ้นใหม่ ต้องมายื่นแบบแสดง
รายการที่ดินหรือยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับโอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แบบ ภบท.5 หรือ ภบท.8 แล้วแต่กรณี
     2) เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบแล้ว จะออกใบรับไว้ให้เป็นหลักฐาน
     3) เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด
3. การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินกรณีเปลี่ยนแปลงการใข้ที่ดินอันเป็นเหตุให้การลดหย่อนเปลี่ยนแปลงไป หรือมีเหตุอย่างอื่นทำให้อัตราภาษีบำรุงท้องที่เปลี่ยนแปลงไป
     1) เจ้าของที่ดินยื่นคำร้องตามแบบ ภบท.8 พร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องใข้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
     2) เจ้าพนักงานประเมินจะออกใบรับให้
     3) เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบว่าจะต้องเสียภาษีในปีต่อไปจำนวนเท่าใด
     4) การขอชำระภาษีบำรุงท้องที่ในปีถัดไปจากปีที่มีการประเมินราคาปานกลางาของที่ดินให้ผู้รับประเมินนำใบเสร็จรับเงินของปีก่อนพร้อมกับเงินไปชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี

ที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนา
ใดศาสนาหนึ่ง หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว
9. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์
10. ที่ดินที่ตั้งขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น
ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
11. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของสถานฑูตหรือสถานกงศุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
12. ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ข้อแตกต่างระหว่างทรัพยสิทธิ กับบุคคลสิทธิ

              () ทรัพยสิทธิมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินโดยตรง เช่น ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใด ย่อมชอบที่จะใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผลติดตามเอาทรัพย์สินคืน และขัดขวางมิให้ผู้ใดสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดบมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองเอาจากตัวทรัพย์ที่จำนองได้เสมอ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะตกไปอยู่ที่ใด
                        บุคคลสิทธิ มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๔ แลมาตรา ๒๑๓ เช่นสิทธิตามสัญญาจ้างทำของย่อมก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้จ้างที่จะบังคับให้ผู้รับจ้างทำของนั้นให้แก่ตน
              () ทรัพยสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดนอาศัยอำนาจของกฎหมายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ สิทธิอาศัย ภารจำยอม และสิทธิอื่นๆ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ สิทธิยึดหน่วงบุริมสิทธิ จำนองและจำนำ เกิดขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจไว้ ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.. ๒๕๓๗ สิทธิในเครื่องหมายการค้าเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.. ๒๕๓๔ สิทธิบัตรเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.. ๒๕๒๒ แต่สิทธิในชื่อเสียงแห่งธุรกิจ (business goodwill) ในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายไทยรับรองจึงมิใช้ทรัพยสิทธิ
                  บุคคลสิทธิ ย่อมเกิดขึ้นได้โดยนิติกรรม เช่นทำสัญญาจะซื้อขายทรัพย์ ทำสัญญาเช่า ให้กู้ยืมเงิน หรือเกิดโดยนิติเหตุ เช่นเมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น ผู้ถูกละเมิดย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้
                 () ทรัพยสิทธิ ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไป คือบุคคลอื่นใดก็ตามมีหน้าที่ต้องงดเว้นไม่ขัดขวางต่อการใช้ทรัพยสิทธิของเจ้าของทรัพยสิทธิ เช่น ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน จำนองตกติดไปกับทรัพย์เสมอ ไม่ว่าผู้ใดจะได้ทรัพย์ใต้ทรัพยสิทธิเหล่านี้ไปก็ต้องยอมรับรู้ทรัพยสิทธิเหล่านี้ จะขัดขวางหรือไม่ยอมให้ผู้ทรงทรัพยสิทธิใช้สอยหรือบังคับสิทธินั้นหาได้ไม่
                        บุคคลสิทธิ ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น กล่าวคือคู่สัญญาเท่านั้นที่มีหน้าที่กระทำหรืองดเว้นการกระทำการตามสัญญา หรือในเรื่องละเมิดตามหลักทั่วไปก็ก่อให้เกิดหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่เฉพาะแก่ผู้ทำละเมิดเท่านั้น
                        คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๖/๒๕๑๐ สัญญาที่เจ้าของที่ดินยอมให้อาคารของเจ้าของที่ดินข้างเคียรุกล้ำเข้ามาในที่ดินจนกว่าอาคารนั้นจะถูกรื้อไป แม้ไม่ได้จดทะเบียนจึงไม่ก่อให้เกิดทรัพยสิทธิ แต่ก็ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิซึ่งบังคับได้ระหว่างคู่สัญญา
                  () ทรัพยสิทธิ มีลักษณะคงทนถาวรและไม่หมดสิ้นไปโดยการไม่ใช้ เช่น กรรมสิทธิ์ แม้จะไม่ใช่นานเท่าใด ก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ หาสูญสิ้นไปไม่ หรือจำนองย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่จำนองเสมอ ส่วนการที่มีผู้อื่นมาแย่งการครอบครองและได้กรรมสิทธิ์ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ นั้นเป็นเรื่องได้กรรมสิทธิ์ไป เพราะผลแห่งการแย่งการครอบครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มีข้อยกเว้นสำหรับทรัพยสิทธิอยู่ ๒ ประเภทเท่านั้น คือภารจำยอมและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา ๑๓๙๙ และ ๑๔๓๔ บัญญัติว่า ถ้าไม่ใช้สิบปีย่อมสิ้นไป
                        บุคคลสิทธิมีลักษณะไม่ถาวร และย่อมสิ้นไปถ้ามิได้ใช้สิทธินี้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ กำหนดเวลานี้เรียกว่า อายุความซึ่งมาตรา ๑๙๓/๙ ได้บัญญัติไว้ว่า สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ และอายุความนั้นมีบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙๓/๓๐ ถึงมาตรา ๑๙๓/๓๕
                        คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๕/๒๕๔๐ สิทธิของผู้เช้าซื้อซึ่งใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วที่จะบังคับผู้ให้เช่าซื้อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อแก่ตนอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความโดยเฉพาะ จึงมีอายุความ ๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๐

ความหมายของ บุคคลสิทธิ

                  .   คือสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ ซึ่งในลักษณะหนี้เรียกว่า
                  .   สิทธิเรียกร้อง หรืออาจกล่าวได้ว่าบุคคลสิทธิ          
                  .   คือ สิทธิที่มีอยู่เหนือบุคคล
                  .   เป็นสิทธิที่บังคับเอาแก่ตัวบุคคลให้กระทำหรือมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สิทธิของเจ้าหนี้ตามสัญญาเงินกู้ สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย สิทธิเรียกส่าสินไหมทดแทนในทางละเมิด เป็นต้น
                  .   สิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิที่จะยังคับเอาแก่ตัวลูกหนี้เท่านั้น จะบังคับยื้อแย่งเอาจากตัวทรัพย์เลยมิได้ ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามสิทธินั้นๆ เจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องบังคับสิทธิในโรงศาล
                  บุคคลสิทธิไม่อาจใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วไป จะใช้บังคับได้แต่เฉพาะตัวลูกหนี้ทายาทหรือผู้สืบสิทธิของลูกหนี้เท่านั้น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๒๗/๒๕๓๓ สิทธิตามนิติกรรมเกี่ยวกับภารจำยอมที่พึงมี ทำให้โจทก์มีสิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย สัญญาที่ทำกับตำเลยแม้ไม่จดทะเบียนเป็นทรัพย์สิทธิ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญาและมิใช่สิทธิที่เป็นการส่วนตัวของสามีโจทก์โดยแท้ เมื่อสามีโจทก์ตาย สิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙, ๑๖๐๐
            ตัวอย่างบุคคลสิทธิ เช่น ก. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้ ข. แต่แล้วกลับเอาไปโอนขายให้ ค. ดังนี้ ข. จะบังคับให้ ค. โอนที่ดินคืนให้ตนหาได้ไม่ ข. มีสิทธิเพียงจะบังคับเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก ก. หรือถ้าหากเป็นกรณีที่อยู่ในข่ายมาตรา ๒๓๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข. ก็อาจขอให้เพิกถอนการโอนอันเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้ เนื่องจากบุคคลสิทธิที่ใช้ยันได้แต่เฉพาะบุคคลดังกล่าวแล้วเท่านั้น ฉะนั้นบุคคลสิทธิจึงจะก่อตั้งหรือเกิดขึ้นได้โดยนิติกรรมหรือโดยนิติเหตุเช่นละเมิดก็ได้

ความหมาย ของทรัพยสิทธิ์

                  .   คือสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือ
                  .   สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน
                  .   เป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์โดยตรง เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
                  .   ทรัพย์สิทธิย่อมใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป จนมีผู้กล่าวกันว่าทรัพยสิทธิใช้ยันบุคคลได้ทั่วโลก เช่น เรามีกรรมสิทธิ์ในหนังสือ เราจะขีดเขียน ฉีกทำลายอย่างใดก็ได้ แม้หนังสือนั้นจะตกไปอยู่ที่ผู้ใด เราก็มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ (มาตรา ๑๓๓๖) เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๓๒๙ ถึง ๑๓๓๒ โดยที่ทรัพยสิทธิใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไปเช่นนี้ ทรัพยสิทธิจึงจะก่อขึ้นได้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย (มาตรา ๑๒๙๘)
                  .   จะก่อตั้งขึ้นเองโดยนิติกรรม โดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้หาได้ไม่ เช่น สิทธิเก็บกินจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น (มาตรา ๑๔๑๗) บุคคลจะทำสัญญาให้มีสิทธิเก็บกินในสังหาริมทรัพย์มิได้

           

ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง บริเวณ รัฐสภาแห่งใหม่

หน้า ๕๔ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตบางพลัดกรุงเทพมหานครอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำ ได้โดยอาศัยอำ นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงออกประกาศกระทรวงมหาดไทยไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้
บริเวณที่ ๑หมายความว่า พื้นที่ในบริเวณรอบนอกแนวเขตที่ดินของรัฐสภาแห่งใหม่ในระยะ ๓๐๐ เมตร
บริเวณที่ ๒หมายความว่า พื้นที่ในบริเวณรอบนอกแนวเขตบริเวณที่ ๑ ในระยะ ๕๐๐ เมตรทั้งนี้ ตามแผนที่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้
ข้อ ๒ ให้กำหนดพื้นที่บางส่วนในเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตบางพลัด กรุงเทพมหานครภายในบริเวณแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารชนิดและประเภท ดังต่อไปนี้
() ภายในบริเวณที่ ๑ ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้
() อาคารที่มีความสูงเกิน ๑๕.๐๐ เมตร
() โรงงานทุกประเภท
() โรงมหรสพ
() อาคารสถานีขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
() อาคารเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน ๑๐ ตารางเมตร หรือเป็นไปเพื่อการค้า หรือก่อเหตุรำคาญตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
() อาคารขนาดใหญ่
() ตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันเกิน ๓๐๐ ตารางเมตร
() โรงซ่อม สร้าง หรือบริการยวดยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ทุกชนิดซึ่งไม่ใช่โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
() คลังน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
(๑๐) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายทุกชนิด เว้นแต่ป้ายบอกชื่อสถานที่ที่มีความสูงไม่เกิน ๑๒.๐๐ เมตร
(๑๑) ฌาปนสถานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๒) อาคารเก็บสินค้า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีลักษณะในทำนองเดียวกันที่ใช้เป็นที่เก็บ พัก หรือขนถ่ายสินค้าหรือสิ่งของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรมที่มีพื้นที่อาคารรวมกันเกิน ๑๐๐ ตารางเมตร
(๑๓) โรงกำจัดขยะมูลฝอย
() ภายในบริเวณที่ ๒ ห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้
() อาคารที่มีความสูงเกิน ๒๓.๐๐ เมตร
() อาคารตาม () () () () () (๑๐) (๑๒) และ (๑๓)
การวัดความสูงให้วัดจากระดับพื้นดินถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร
ข้อ ๓ ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ ห้ามบุคคลใดดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๒
ข้อ ๔ ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้มิให้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีอยู่ก่อนการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ในพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ ก่อนหรือในวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ใช้บังคับแต่ห้ามดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๒
ข้อ ๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้มิให้ใช้บังคับแก่อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้น ก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้างดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ไม่แล้วเสร็จ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาต หรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ไม่ได้
ข้อ ๖ ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปประกาศ ณ

วันที่ ๑๙ มกราคม พ.. ๒๕๕๔
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วิธีการและขั้นตอนการประมูลอสังหาริมทรัพย์กับ กรมบังคับคดี

1.1 หลักฐานที่จะต้องนำมาในประมูลอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างห้องชุด ฯลฯ)
      (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนารับรองถูกต้อง 1 ฉบับ
      (2) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ซื้อต้องส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
     (3) กรณีประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าประมูลแทน ต้องมีใบมอบอำนาจ ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท และมีหลักฐานตามข้อ (1)
     (4) เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายกองคลัง กรมบังคับคดี เป็นผู้รับเงินเพื่อใช้เป็นหลักประกันการเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท (บางคดีหากมีพฤติการณ์ ปรากฎว่าเป็นการประวิงคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดเงื่อนไขในการวางประกันเป็นจำนวนเงินร้อยละ 5 ของราคาที่เคยมีผู้เสนอราคาสูงสุด) เว้นแต่ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคู่สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว และผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์แล้วไม่วางเงินหลักประกัน

1.2 วิธีการประมูลซื้อทรัพย์ กรณีประมูลซื้ออสังหาริมทรัพย์ ( ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุด ฯลฯ)
     (1) ผู้เข้าสู้ราคาต้องกรอกรายละเอียดของผู้ซื้อในบัตรลงทะเบียน พร้อมวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเป็นประกันการเข้าสู้ราคาต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เว้นแต่ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือคู่สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้วหรือผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์แล้ว ไม่ต้องวางเงินหลักประกัน
      (2) ผู้เข้าสู้ราคา เมื่อวางหลักประกันแล้วจะได้รับป้ายประมูลราคาจากเจ้าพนักงาน เพื่อใช้สำหรับเสนอราคาจากนั้นเข้าไปนั่งในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้

     (3) การกำหนดราคาเริ่มต้นของเจ้าพนักงานกำหนดดังนี้
        ครั้งแรกในราคาร้อยละ 80 ของราคาประเมิน 
      ครั้งที่ 2 ในราคาร้อยละ 50 ของราคาประเมินแต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดในครั้งก่อน
1.3 เมื่อประมูลทรัพย์ได้แล้ว ต้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันซื้อเป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ประมูลไม่สามารถชำระเงินส่วนที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดเวลา 15 วัน และได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงิน ซึ่งต้องระบุเหตุผลและความจำเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายให้อีกตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ไม่เกิน 3 เดือนและไม่ว่ากรณีใด ๆ จะไม่มีการขยายเวลาวางเงินให้อีก ถ้าไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้เสร็จภายในกำหนดดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะริบมัดจำที่วางไว้และนำทรัพย์ออกขายทอดตลาดใหม่ หากขายทอดตลาดต่อไปได้ราคาสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด ผู้ประมูลต้องชดใช้ให้เต็มจำนวนที่ประมูลไว้ในครั้งก่อนและต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการขายทอดตลาดครั้งหลังนี้ด้วย

ที่มา  กรมบังคับคดี