การมอบอำนาจ ทำนิติกรรม ที่เกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

     การมอบอำนาจ หมายถึง กรณีที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ แต่งตั้งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีอำนาจทำการแทนตามที่ได้ตกลงกันไว้กรณีที่เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่จะต้องดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นกับสำนักงานที่ดิน โดยไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตัวเอง มีความประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน บุคคลซึ่งจะเป็นผู้รับมอบอำนาจควรเป็นผู้ที่เชื่อถือและไว้วางใจได้จริง ๆ โดยจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ และมอบบัตรประจำตัวของผู้มอบให้กับผู้รับมอบอำนาจนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย โดยจะต้องระมัดระวังหรือกระทำการให้รัดกุมรอบคอบ และปฏิบัติตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัดการมอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้บังคับไว้ว่าจะต้องเขียนหรือใช้แบบฟอร์มอย่างไร แต่การทำหนังสือมอบอำนาจให้ทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือกิจการอื่น ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ควรใช้ตามแบบฟอร์มของกรมที่ดิน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.      แบบ ท..21 ใช้สำหรับที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน
2.      แบบ ท..4 ใช้สำหรับที่ดินที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน
(มีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม แบบ น..3, ..3 .,..3 .)
3.      แบบ อ..21ใช้สำหรับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือหากจะใช้กระดาษอื่น ควรเขียนข้อความให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มของกรมที่ดิน เพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง
ในการมอบอำนาจควรปฏิบัติ ดังนี้
1. กรอกเครื่องหมายของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึกบ้านเรือน ให้ชัดเจน
2. ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่ามอบอำนาจให้ผู้ใด ทำอะไร เช่น ซื้อขาย, จำนอง ฯลฯถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุเอาไว้ด้วย
3. อย่ากรอกข้อความต่างลายมือและน้ำหมึกสีต่างกัน หากใช้เครื่องพิมพ์ก็ต้องเป็นเครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกัน และจะพิมพ์บ้างเขียนบ้างไม่ได้
4. ถ้ามีการขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนังสือมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
5. อย่าลงลายมือชื่อมอบอำนาจก่อนกรอกข้อความโดยครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
6. หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คนพยานต้องลงลายมือชื่อเท่านั้นจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
7. หนังสือมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูต สถานกงสุล โนตารีพับลิค (Notary Public) หรือบุคคลซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นระบุให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเป็นผู้รับรอง
8. กรณีผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่าย เช่น ตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอนผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเข้าทำการแทนและ/หรือเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย
9. เมื่อได้มอบอำนาจให้ผู้ใดแล้ว การบอกเลิกการมอบอำนาจต้องติดต่อบอกเลิกไปยังผู้รับมอบอำนาจและดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งหนังสือมอบอำนาจเอง ไม่อาจบอกเลิกไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
10. การยื่นขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดยใช้หนังสือมอบอำนาจผู้ขอจดทะเบียนจะเสียค่าธรรมเนียมเป็นค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท ตามข้อ 2 (10)() แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (.. 2541)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฎกระทรวงฉบับที่ 53 (.. 2549)


ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน