ลักษณะและตำแหน่งทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงสำหรับอาคารทั่วไป
· ทางเชื่อมใกล้บริเวณทางแยก
(1) ห้ามมิให้มีทางเชื่อมในช่วงช่องทางเลี้ยว (Turning Roadway) ในทางแยกและตามแนวการมองเห็น (Line of sight) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแบบทางแยกนั้น
(2) สันขอบทางหรือไหล่ทางเชื่อมด้านใกล้ทางแยก ต้องห่างจากจุดตัดของเขตทางหลวง หรือจุดตัด ระหว่างแนวครอบครองที่ใกล้ทางแยกกับเขตทางหลวง สำหรับทางในเมืองไม่น้อยกว่า 30 เมตร และทางนอกเมืองไม่น้อยกว่า 50 เมตร
(3) บริเวณทางแยกต่างระดับหรือชุมทางต่างระดับ จะพิจารณากำหนดให้เป็นแห่งๆ ไป
· ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้สะพาน
(1) สะพานราบ (ช่วงทางหลวงที่เข้าหาสะพานที่มีความลาดชันระหว่าง 0 – 3 %)
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 30 เมตร
(2) สะพานโค้งตั้ง ที่มีความลาดชัน 3 – 6 % จุดทางเชื่อมต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งตั้งและจุดปลายโค้งตั้ง ดังนี้
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและ ปลายโค้งตั้งไม่น้อยกว่า 20 เมตร
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและปลายโค้ง ตั้งไม่น้อยกว่า 40 เมตร
· ทางเชื่อมใกล้บริเวณทางแยก
(1) ห้ามมิให้มีทางเชื่อมในช่วงช่องทางเลี้ยว (Turning Roadway) ในทางแยกและตามแนวการมองเห็น (Line of sight) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแบบทางแยกนั้น
(2) สันขอบทางหรือไหล่ทางเชื่อมด้านใกล้ทางแยก ต้องห่างจากจุดตัดของเขตทางหลวง หรือจุดตัด ระหว่างแนวครอบครองที่ใกล้ทางแยกกับเขตทางหลวง สำหรับทางในเมืองไม่น้อยกว่า 30 เมตร และทางนอกเมืองไม่น้อยกว่า 50 เมตร
(3) บริเวณทางแยกต่างระดับหรือชุมทางต่างระดับ จะพิจารณากำหนดให้เป็นแห่งๆ ไป
· ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้สะพาน
(1) สะพานราบ (ช่วงทางหลวงที่เข้าหาสะพานที่มีความลาดชันระหว่าง 0 – 3 %)
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 30 เมตร
(2) สะพานโค้งตั้ง ที่มีความลาดชัน 3 – 6 % จุดทางเชื่อมต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งตั้งและจุดปลายโค้งตั้ง ดังนี้
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและ ปลายโค้งตั้งไม่น้อยกว่า 20 เมตร
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและปลายโค้ง ตั้งไม่น้อยกว่า 40 เมตร
· ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้ทางรถไฟ ให้ขอบทางเชื่อมด้านใกล้ทางรถไฟห่างจากรางรถไฟไม่น้อยกว่า 30 เมตร
· ทางเชื่อมที่อยู่ในโค้งราบ จะต้องมีระยะการมองเห็นที่เพียงพอ และสามารถหยุดรถได้ทัน ห้ามมิให้ทางเชื่อม บริเวณโค้งราบที่มีรัศมีน้อยกว่า 100 เมตร
(1) ขนาดและประเภทของอาคารระบายน้ำจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละสายทาง
(2) ในกรณีที่มีคูน้ำอยู่เดิมให้พิจารณาขนาดของอาคารระบายน้ำ โดยให้ช่องเปิดของอาคารระบายน้ำ กว้างไม่น้อยกว่า 3/4 ของความกว้างของคูน้ำนั้น และจะต้องสูงกว่าระดับน้ำสูงสุด โดยให้ส่วนของอาคารระบายน้ำสูงกว่า ระดับน้ำสูงสุด
(3) โดยทั่วไปให้ใช้ท่อ คสล. อย่างน้อย 1 – ? 0.60 เมตร
(4) ในเขต กทม. และปริมณฑล ให้ใช้ท่อขนาด 2 - ? 1.00 เมตร หรือท่อ Box culvert หากร่องน้ำ ไม่กว้างพอให้ใช้ขนาด 1 - ? 1.20 เมตร
2.1.6 ลักษณะผิวจราจรของทางเชื่อมที่ขออนุญาต จะต้องทำผิวทางอย่างน้อยให้เป็นลักษณะเดียวกับทางหลวง บริเวณนั้น ให้มีความยาวอย่างน้อยถึงเขตทางหลวง กรณีผิวจราจรทางเชื่อมเป็นคอนกรีตแต่ผิวทางหลวงเป็น ชนิดลาดยาง ให้สร้างทางเชื่อมผิวคอนกรีตบรรจบทางหลวงที่ขอบไหล่ทาง และปรับปรุงไหล่ทางลาดยางให้มีความ แข็งแรงเท่าทางจราจร
(1) ความกว้างของผิวจราจรทางเชื่อมจะต้องไม่กว้างกว่าผิวจราจรทางหลวงบริเวณนั้น กรณีผู้ขออนุญาต จะปรับปรุงขยายทางหลวงที่บริเวณทางเชื่อมด้วย เช่น สร้างช่องจราจรชะลอความเร็วและเร่งความเร็วให้ความกว้าง ของผิวจราจรไม่เกิน 7.00 เมตรต่อทิศทาง