หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การขออนุญาตระบายน้ำลงในเขตทางหลวงชนบท (ตามประกาศ กรมทางหลวง ลว.20 ก.ค. 53)

หลักเกณฑ์การขออนุญาต
1. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขออนุญาต
ต้องเป็นเจ้าของในที่ดินที่ประสงค์จะระบายน้ำลงในเขตทางหลวงชนบท หากเป็นนิติบุคคลให้ผู้ที่มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลเป็นผู้ยื่นคำขอ
2. หลักฐานประกอบการขออนุญาต
1.1 แบบฟอร์มคำขออนุญาตกระทำการใด ๆ ในเขตทางหลวงชนบท (ตามแบบ ข.2)
1.2 แบบแปลนแผนผังพร้อมรูปตัดแสดงการเดินท่อน้ำ ทิ้งภายในที่ดินของผู้ขออนุญาตจนกระทั่งมาบรรจบท่อระบายน้ำทางหลวงหรือทางระบายน้ำทางหลวง จำนวน 4 ชุด
1.3 แสดงระบบการจัดน้ำเสียให้ได้คุณภาพน้ำทิ้งตามประเภทอาคาร ที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (.. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522 หรือตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (.. 2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม หรือตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุม
การระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีสถาบันทางราชการ หรือวิศวกรที่ได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับรอง
1.4 สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต จำนวน 3 ฉบับ
1.5 สำเนาโฉนดที่ดิน จำนวน 3 ฉบับ (กรณีที่ที่ดินติดจำนองจะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้รับจำนอง)
1.6 หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการขออนุญาตแทน ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
1.7 กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือที่ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจพร้อมตราประทับของนิติบุคคลนั้น ๆ และต้องมีหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
3. การตรวจสอบสถานที่
เจ้าหน้าที่จะนัดหมายกับผู้ขออนุญาตเพื่อทำการตรวจสอบสถานที่ที่ขออนุญาตทำทางระบายน้ำในเขตทางหลวงชนบทก่อนที่จะอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตให้ทำทางระบายน้ำแล้ว ผู้ขออนุญาตจึงจะสามารถทำทางระบายน้ำในเขตทางหลวงชนบทได้ โดยต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนด
4. สถานที่ยื่นคำขออนุญาต
ผู้ขออนุญาตสามารถขอรับแบบคำขออนุญาตฯ และยื่นแบบคำขออนุญาตฯ ได้ที่สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท หรือที่ web site / www.ddr.go.th และยื่นแบบคำขออนุญาตได้ที่สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท เลขที่ 9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. 10220 โทร.0-2551-5000
(เอกสาร ล.2)

เงื่อนไขการอนุญาต
1. การขออนุญาตระบายน้ำลงในเขตทางหลวงชนบท จะขออนุญาตได้เฉพาะบริเวณที่ท่อระบายน้ำ หรือคูระบายน้ำของกรมทางหลวงชนบทมีความจุหรือมีความสามารถเพียงพอที่จะรับปริมาณน้ำดังกล่าวได้
2. ก่อนที่ผู้ได้รับอนุญาตจะลงมือกระทำการก่อสร้าง ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบททราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
3. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ...... วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตยังไม่ทำการให้แล้วเสร็จ เนื่องจากผู้ได้รับอนุญาตละทิ้งงานหรือหลีกเลี่ยงไม่ทำตามแบบที่กำหนด หรือมีเหตุผลที่ไม่ควรให้ต่อเวลาทำการอีกต่อไป ผู้ได้รับอนุญาตยินยอมให้กรมทางหลวงชนบทเพิกถอนการอนุญาต โดยไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ผู้ได้รับอนุญาตจะทำการก่อสร้างตามแบบและรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้
5. ผู้ได้รับอนุญาตยินยอมให้กรมทางหลวงชนบท มีสิทธิที่จะออกแบบ เปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมแบบให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของทาง หรือเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางหรือเพื่อบำรุงรักษาประการใดก็ได้ และหากมีการแก้ไขเป็นหน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาตที่จะต้องปฏิบัติตามโดยออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
6. ผู้ได้รับอนุญาตจะหาวัสดุมาดำเนินการก่อสร้างตามแบบ และรายละเอียดที่กรมทางหลวงชนบทอนุญาต จะไม่ใช้วัสดุในเขตทางหลวงของกรมทางหลวงชนบท
7. ผู้ได้รับอนุญาตต้องติดตั้งป้ายจราจรตลอดจนเครื่องหมายควบคุมการจราจรอื่น ๆ ในระหว่างการก่อสร้างตามมาตรฐานทางหลวง และแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติหากจำเป็นต้องทำการก่อสร้างในเวลากลางคืน หรือส่วนของงานก่อสร้างหรือวัสดุอุปกรณ์ของงานก่อสร้างอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทางในเวลากลางคืน ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องจัดให้มีไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเพียงพอและป้ายจราจรที่ติดตั้งต้องเป็นชนิดสะท้อนแสง (Reflective) ด้วย
8. ผู้ได้รับอนุญาต จะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบทเข้าตรวจสอบการทำงานได้ตลอดเวลาเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อทางหลวง
9. เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบท มีอำนาจสั่งให้หยุดการทำการก่อสร้างในกรณีที่การก่อสร้างนั้นจะทำความเสียหายให้แก่ทางหลวงหรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทาง
10. ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องรับผิดชอบ และชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการก่อสร้างทางระบายน้ำที่มีต่อทางหลวงหรือผู้ใช้ทาง
11. ในระหว่างการใช้สถานที่ที่ได้รับอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องควบคุมการใช้สถานที่ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีการรักษาความสะอาดสถานที่และเมื่อครบกำหนดการได้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการทำความสะอาด เก็บเศษวัสดุอุปกรณ์ อันเกิดจากกิจกรรมที่ใช้สถานที่ให้เรียบร้อย และแจ้งให้กรมทางหลวงชนบทตรวจสอบจนเป็นที่พอใจ พร้อมทั้งจัดทำแบบตามที่ได้ก่อสร้างจริง(Asbuilt Plan) จำนวน 2 ชุด มอบให้เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบทที่รับผิดชอบทางหลวงนั้นด้วย
(เอกสาร ง.2)
12. ในกรณีที่การขออนุญาตต้องทำการขุดรื้อผิวจราจร ทางเท้า หรือส่วนอื่นใดในโครงสร้างถนน ผู้ได้รับอนุญาตต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม ตามมาตรฐานและวิธีการที่กรมทางหลวงชนบทกำหนดและต้องรับผิดชอบความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้น ภายในเวลา 2 ปี
13. เมื่อกรมทางหลวงชนบทต้องสร้างหรือขยายทางหลวง หรือซ่อมแซมบำรุงทางหลวง ถ้าต้องรื้อถอนเคลื่อนย้ายสิ่งที่ได้รับอนุญาตเป็นภาระของผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการภายในกำหนดที่ได้รับแจ้งและหากเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆจากกรมทางหลวงชนบท
14. เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกรมทางหลวงชนบท หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้รื้อย้ายทางระบายน้ำที่ได้รับอนุญาตให้พ้นเขตการก่อสร้างทางภายในเวลาที่กรมทางหลวงชนบทกำหนดผู้ได้รับอนุญาตจะทำการรื้อย้ายทันที และให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้งโดยจะเป็นผู้จัดหาสถานที่จัดเก็บและเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น ถ้าหากผู้ได้รับอนุญาตรื้อย้ายไม่ทันภายในกำหนดระยะเวลาและเกิดความเสียหายขึ้นกับกรมทางหลวงชนบท ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามผู้ได้รับอนุญาตยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมทางหลวงชนบท
15. ในกรณีที่การก่อสร้างตามคำขอนี้จำเป็นจะต้องตัดกิ่งไม้ในเขตทางผู้ได้รับอนุญาตจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมทางหลวงชนบทก่อน และกรมทางหลวงชนบทมีสิทธิที่จะกำหนดเงื่อนไขประการใดก็ได้
16. ผู้ได้รับอนุญาตจะซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายให้อยู่ในสภาพเดิม ให้ได้มาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานงานก่อสร้างเดิมของสิ่งก่อสร้างนั้น
17. หากเกิดความเสียหายแก่ถนนหรือทรัพย์สินของกรมทางหลวงชนบทขึ้นในภายหลังจากผู้ได้รับอนุญาตได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุอันมาจากทางระบายน้ำที่ได้รับอนุญาตผู้ได้รับอนุญาตจะซ่อมแซม จัดหาใหม่ให้ดีเช่นเดิม ตามที่กรมทางหลวงชนบทกำหนดภายในระยะเวลา 15 วัน หลังจากได้รับแจ้งหรือตามระยะเวลาที่กรมทางหลวงชนบทกำหนดในกรณีเร่งด่วน
18. ให้ก่อสร้างบ่อพักไขมันในที่ดินของผู้ขออนุญาตบริเวณริมเขตทางของกรมทางหลวงชนบทก่อนเชื่อมท่อระบายน้ำลงสู่ทางระบายน้ำในเขตทางของกรมทางหลวงชนบท และให้ผู้ขออนุญาตจัดทำประตูน้ำสำหรับเปิดปิดเพื่อควบคุมการระบายน้ำไว้ด้วย ในกรณีที่น้ำระบายออกมาสกปรกจะสามารถปิดกั้นน้ำดังกล่าวไว้ได้
19. น้ำที่ระบายออกมาจะต้องเป็นน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียจนมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 44 (..2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ..2522 หรือตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (.. 2539) เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม หรือประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร (.. 2548) ห้ามระบายน้ำเน่าสกปรกลงสู่ทางระบายน้ำในเขตทางของกรมทางหลวงชนบท
20. ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดูแลทางระบายน้ำในเขตทางของกรมทางหลวงชนบทให้น้ำที่ระบายออกมาสามารถไหลผ่านลงสู่คลองสาธารณะได้ไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังมีผลกระทบต่อโครงสร้างทางหลวง และความเสียหายของผู้อื่น ในกรณีที่มีปัญหาผู้ได้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมตามที่กรมทางหลวงชนบทกำหนด โดยผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
21. ผู้ที่ได้รับอนุญาตจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบทเข้าตรวจสอบการระบายน้ำและยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทุกประการ
22. หากปรากฏหรือพบว่าผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดหรือน้ำที่ปล่อยออกมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรมทางหลวงชนบทจะเพิกถอนการอนุญาตทันที โดยผู้ได้รับอนุญาตจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากกรมทางหลวงชนบทไม่ได้ และจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวที่เกิดขึ้น