สิทธิของผู้เช่านา

สำหรับผู้เช่านา ย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้
() มีสิทธิปลูกข้าวหรือพืชไร่ (มาตรา ๔๕)
ในฤดูการทำนา ผู้เช่านาย่อมมีสิทธิปลูกข้าวหรือพืชไร่ (พืชไร่ คือ พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน ๑๒ เดือน) เช่น ถั่ว ข้าวโพด แต่ทั้งนี้จะปลูกพืชประเภทที่ คชก. จังหวัดได้ประกาศห้ามปลูกไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจหรือเพื่ออนุรักษ์ที่ดินและน้ำ
นอกจากนี้ ผู้ให้เช่านาจะมีข้อจำกัดให้ผู้เช่านาปลูกข้าว หรือพืชไร่อย่างใด เป็นการเฉพาะไม่ได้เช่น เถ้าแก่เฮงผู้ให้เช่านาจะบังคับให้ ตาสีปลูกแต่ข้าวโพดอย่างเดียวไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่า คชก. ตำบล
จะเห็นชอบด้วย (มาตรา ๔๕ วรรค ๒)
() มีสิทธิทำประโยชน์ในที่นา
การเช่านานั้น ผู้เช่านาสามารถที่จะใช้นานั้น เพื่อประโยชน์อย่างอื่น นอกจากการทำนาตามปกติโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าเพิ่มแต่อย่างใด ในกรณีดังต่อไปนี้
.๑ ปลูกพืชอายุสั้นอื่น ๆ ในนาที่เช่าได้
.๒ ใช้นาที่เช่าบางส่วนทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือการปลูกไม้ยืนต้นทั้งนี้ จะต้องไม่ทำให้สภาพของนาเปลี่ยนแปลง หรือเป็นอุปสรรคต่อการปลูกพืชหลัก เช่น จะใช้นาที่เช่ามาทั้งหมดไปขุดบ่อเลี้ยงปลาไม่ได้ (มาตรา ๔๗)
() มีสิทธิเช่านาต่อแม้จะเปลี่ยนเจ้าของนาแล้ว
แม้ผู้ให้เช่านาจะโอนที่ให้แก่คนอื่น สัญญาเช่านาก็ยังคงใช้ได้อยู่ไม่เลิกไป และถือว่าเจ้าของคนใหม่เป็นผู้ให้เช่า (มาตรา ๒๘)
 () สิทธิในการเช่าตกทอดไปเมื่อผู้เช่านาตาย
แม้ว่าผู้เช่านาจะถึงแก่ความตายก็ตาม สัญญาเช่านาก็ไม่เลิก ตามกฎหมายยังอนุญาตให้สามีภรรยา บุพการี (เช่น พ่อ แม่ ฯลฯ) หรือผู้สืบสันดาน (เช่น ลูก หลาน ฯลฯ) หรือญาติสนิทของผู้เช่านาซึ่งเป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวกับการทำนานั้นมีสิทธิแสดงความจำนงขอเช่านาต่อผู้ให้เช่านา หรือผู้แทนหรือต่อ คชก. ตำบล ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ผู้เช่านาถึงแก่ความตาย เมื่อแสดงความจำนงแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้เช่านาสืบต่อไปและถ้ามีบุคคลหลายรายแสดงความจำนง และไม่สามารถตกลงกันได้ว่าใครควรจะเช่าต่อ คชก.ตำบลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด (มาตรา ๒๙)
() มีสิทธิในการซื้อนาที่เช่าก่อนคนอื่น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้เกษตรกรผู้เช่ามีโอกาสซื้อนาเป็นของตนเองได้ตามควร กฎหมายจึงกำหนดว่าผู้เช่านาอาจขอซื้อนาที่เช่าได้ก่อนคนอื่น ดังนี้
.๑ ถ้าผู้ให้เช่านาอยากขายนาที่ให้เช่า (รวมถึงการขายฝาก การแลกเปลี่ยน และการโอนชำระหนี้จำนองด้วย) ผู้ให้เช่านาจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่านารู้ก่อนว่าผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะขายนาที่ให้เช่านั้น โดยแจ้งราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงิน ว่าจะจ่ายสด หรือผ่อนเป็นงวด ๆ ให้ผู้เช่าและประธาน คชก. ตำบลทราบ เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายใน ๑๕ วันถ้าผู้เช่านาประสงค์จะซื้อ ต้องแจ้งต่อประธาน คชก. ตำบล ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันรับแจ้งและผู้ให้เช่านาจะต้องยอมขายตามที่ได้แจ้งนั้น (มาตรา ๕๓ วรรค ๑)
.๒ ถ้าผู้เช่านาจะซื้อตามราคาที่แจ้ง แต่ไม่ตกลงกันในวิธีการชำระเงิน เช่น เถ้าแก่ซัวจะขายเงินสด แต่ตาสีจะขอผ่อนเป็นงวด ๆ ในกรณีเช่นนี้ คชก. ตำบล เข้าไกล่เกลี่ยโดยจะมีการขยายกำหนดชำระเงิน หรือคำสั่งอย่างอื่นก็ได้ แต่จะขยายกำหนดเวลาชำระเงินเกินกว่า ๑ ปี ต่อจากระยะเวลาที่ผู้ให้เช่า
กำหนดไว้ไม่ได้ (มาตรา ๕๓ วรรค ๒)
.๓ ถ้าไม่แสดงเจตนาซื้อภายใน ๓๐ วัน นับแต่ได้รับแจ้งจากประธาน คชก. ตำบลหรือปฏิเสธไม่ซื้อ หรือจะซื้อ แต่ไม่ชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน หรือตามที่ คชก. ตำบล กำหนดให้ถือว่าผู้เช่านาหมดสิทธิจะซื้อ (มาตรา ๕๓ วรรค ๓)
.๔ ในกรณีที่ผู้ให้เช่านาจะขายนาให้แก่ผู้อื่น (เพราะผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อนาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อ ๓) ถ้าการขายในราคาหรือวิธีการชำระเงินแตกต่างไปจากที่เคยแจ้งให้ผู้เช่านาทราบครั้งแรก จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เช่านาซื้ออีก คือต้องดำเนินการใหม่อีกครั้ง โดยแจ้งต่อประธาน คชก. ตำบล ถึงราคาที่จะขาย และวิธีการชำระเงิน เป็นต้น (มาตรา ๕๓ วรรค ๔) ถ้าผู้ให้เช่านาไม่ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดในข้อ ๕.๑ หรือข้อ ๕.๔ ไม่ว่านาจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาคืนจากผู้ที่ซื้อไปจากผู้ให้เช่า ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับซื้อได้ซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันแต่ผู้เช่านาจะต้องซื้อนาคืนภายใน ๒ ปี นับแต่ผู้เช่านารู้ หรือควรจะรู้ว่ามีการขายแต่ไม่เกิน ๓ปี นับแต่ผู้ให้เช่านาโอนมานั้นให้แก่ผู้ซื้อนานั้น (มาตรา ๕๔)