๑. คือสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือ
๒. สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน
๓. เป็นสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์โดยตรง เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
๔. ทรัพย์สิทธิย่อมใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป จนมีผู้กล่าวกันว่าทรัพยสิทธิใช้ยันบุคคลได้ทั่วโลก เช่น เรามีกรรมสิทธิ์ในหนังสือ เราจะขีดเขียน ฉีกทำลายอย่างใดก็ได้ แม้หนังสือนั้นจะตกไปอยู่ที่ผู้ใด เราก็มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ (มาตรา ๑๓๓๖) เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๓๒๙ ถึง ๑๓๓๒ โดยที่ทรัพยสิทธิใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไปเช่นนี้ ทรัพยสิทธิจึงจะก่อขึ้นได้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย (มาตรา ๑๒๙๘)
๕. จะก่อตั้งขึ้นเองโดยนิติกรรม โดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้หาได้ไม่ เช่น สิทธิเก็บกินจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น (มาตรา ๑๔๑๗) บุคคลจะทำสัญญาให้มีสิทธิเก็บกินในสังหาริมทรัพย์มิได้