๒. สิทธิเรียกร้อง หรืออาจกล่าวได้ว่าบุคคลสิทธิ
๓. คือ สิทธิที่มีอยู่เหนือบุคคล
๔. เป็นสิทธิที่บังคับเอาแก่ตัวบุคคลให้กระทำหรือมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สิทธิของเจ้าหนี้ตามสัญญาเงินกู้ สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย สิทธิเรียกส่าสินไหมทดแทนในทางละเมิด เป็นต้น
๕. สิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิที่จะยังคับเอาแก่ตัวลูกหนี้เท่านั้น จะบังคับยื้อแย่งเอาจากตัวทรัพย์เลยมิได้ ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามสิทธินั้นๆ เจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องบังคับสิทธิในโรงศาล
บุคคลสิทธิไม่อาจใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วไป จะใช้บังคับได้แต่เฉพาะตัวลูกหนี้ทายาทหรือผู้สืบสิทธิของลูกหนี้เท่านั้น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๒๗/๒๕๓๓ สิทธิตามนิติกรรมเกี่ยวกับภารจำยอมที่พึงมี ทำให้โจทก์มีสิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย สัญญาที่ทำกับตำเลยแม้ไม่จดทะเบียนเป็นทรัพย์สิทธิ แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญาและมิใช่สิทธิที่เป็นการส่วนตัวของสามีโจทก์โดยแท้ เมื่อสามีโจทก์ตาย สิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙, ๑๖๐๐
ตัวอย่างบุคคลสิทธิ เช่น ก. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้ ข. แต่แล้วกลับเอาไปโอนขายให้ ค. ดังนี้ ข. จะบังคับให้ ค. โอนที่ดินคืนให้ตนหาได้ไม่ ข. มีสิทธิเพียงจะบังคับเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก ก. หรือถ้าหากเป็นกรณีที่อยู่ในข่ายมาตรา ๒๓๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข. ก็อาจขอให้เพิกถอนการโอนอันเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้ เนื่องจากบุคคลสิทธิที่ใช้ยันได้แต่เฉพาะบุคคลดังกล่าวแล้วเท่านั้น ฉะนั้นบุคคลสิทธิจึงจะก่อตั้งหรือเกิดขึ้นได้โดยนิติกรรมหรือโดยนิติเหตุเช่นละเมิดก็ได้